เกร็ดความรู้เรื่อง “ความร้อน”

ถ้าถามว่า อุณหภูมิในร่างกายคนเราเพิ่มสูงขึ้นช่วงไหนมากเป็นพิเศษ... คำตอบคือ ตอนออกแรง-ออกกำลัง เนื่องจากการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้สร้างแรงกลของคนเราจะทำให้เกิดความร้อน มากกว่า 70% ของกำลังงานทั้งหมด

           และถ้าร่างกายขาดน้ำมากๆ... ระบบการขับเหงื่ออาจหยุดทำงาน ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นได้ถึง 1.1 c/ชั่วโมง และถ้าอุณหภูมิเกิน 41.1 c อาจเกิดลมแดด (heat stroke) ซึ่ง ทำให้อวัยวะภายใน "สุก" หรือเสื่อมสภาพ ทำให้ตายได้

สเกลอุณหภูมิ

              องศาฟาเรนไฮต์ ในปี ค.ศ.1714 กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (Gabrial Fahrenheit) นัก ฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งบรรจุปรอทไว้ในหลอดแก้ว เขาพยายามทำให้ปรอทลดต่ำสุด (0°F) โดยใช้น้ำแข็งและ เกลือผสมน้ำ เขาพิจารณาจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 32°F และจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 212°F

              องศาเซลเซียส ในปี ค.ศ.1742 แอนเดอส์ เซลเซียส (Anders Celsius) นักดาราศาสตร์ ชาวสวีเดน ได้ออกแบบสเกลเทอร์มอมิเตอร์ให้อ่านได้ง่ายขึ้น โดยมีจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 0°C และจุด เดือดของน้ำเท่ากับ 100°C

              เคลวิน (องศาสัมบูรณ์) ต่อมาในคริสศตวรรษที่ 19 ลอร์ด เคลวิน (Lord Kelvin) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่าง ความร้อนและอุณหภูมิว่า ณ อุณหภูมิ -273°C อะตอมของ สสารจะไม่มีการเคลื่อนที่ และจะไม่มีสิ่งใดหนาวเย็นไปกว่านี้ได้อีก เขาจึงกำหนดให้ 0 K = -273°C
(ไม่ต้อง ใช้เครื่องหมาย ° กำกับหน้าอักษร K) สเกลองศาสมบูรณ์หรือเคลวิน เช่นเดียวกับองศาเซลเซียสทุกประการ เพียงแต่ +273 เข้าไป เมื่อต้องการเปลี่ยนเคลวินเป็นเซลเซียส

ที่มา : สสส.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น