รากประสาทถูกกดทับ

ผู้ทำงานหนัก แบกของเป็นประจำระวัง

สันหลัง คนเราประกอบด้วยกระดูกสันหลังชิ้นย่อย ๆ กว่า 30 ชิ้น เรียงต่อกันเป็นแนวจากต้นคอจรดก้นกบ ระหว่างกระดูกแต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง คั่นกลางทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและเป็นเสมือนโช้คอัพเพื่อดูดซับและ กระจายแรงอัด ภายในโพรงกระดูกสันหลังประกอบไปด้วยไขสันหลังและมีเส้นประสาทแยกแขนงจากไข สันหลังไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเส้นประสาทส่วนต้นสุดที่แยกแขนงออกมาจากไขสันหลังเรียกว่า รากประสาท ซึ่งจะอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก

          เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวก็จะกดทับรากประสาทที่ไปเลี้ยงแขนหรือ ขา ทำให้มีอาการปวดเสียวแชะชาของแขนหรือขา ส่วนรากประสาทที่ถูกกดทับมักจะพบบ่อยจากการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก สันหลังบริเวณกระเบนเหน็บหรือบั้นเอว ทำให้มีการกดทับรากประสาทไซอาติก (Sciatic Narve) ที่ไปเลี้ยงขา ซึ่งจะพบบ่อยในกลุ่มคนดังนี้:

  - ผู้ที่ทำงานหนักโดยเฉพาะผู้ที่แบกของหนักเป็นประจำ
          - ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือมีแรงกระแทกบริเวณเอว
          - ผู้ที่มีอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน
          - ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกเสื่อม
          รากประสาทขาถูกกดทับมีอาการอย่างไร...
          - มีอาการปวดหลังบริเวณบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บร่วมกับอาการปวดร้าวที่ขา ซึ่งจะปวดจากแก้มก้นลงไปที่ต้นขา น่องและปลายเท้า
          - อาการปวดร้าวที่ขามักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น นอกจากในรายที่เป็นมากอาจมีอาการทั้งสองข้าง
          - อาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังจากการเดินมาก ๆ และอาจปวดมากขึ้นเวลาก้ม นั่ง ไอ จาม หรือเบ่งถ่าย
          - ในกรณีเป็นมาก เท้าจะไม่มีแรงและชา อาจปัสสาวะไม่ได้หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หากปล่อยไว้นานอาจทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงและลีบลง
          - ผู้ป่วยไม่สามารถยกเท้าเหยียดตรงได้ 90 องศา เช่นคนปกติหรือได้น้อยกว่าเท้าอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากรู้สึกปวดเสียวตามหลังเท้าจนทนไม่ได้

          สาเหตุของโรคในทัศนะการแพทย์จีน...

          การแพทย์จีนได้จัดโรครากประสาทขาถูกกดทับให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวด เมื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก ความเสื่อมตามวัยหรือพิษเย็น-ชื้นที่สะสมบริเวณเอว ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณติดขัด กีดขวางการไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณจนเกิดอาการปวดขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีนคือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด นอกจากนี้ การไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณบริเวณเอวที่ติดขัดจะทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ พร้อมทั้งไม่สามารถขับพิษเย็น-ชื้น ที่สะสมและสารพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาบอลิซึมออกไปได้หมดสิ้น จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ บริเวณกระดูกสันหลังขึ้น

          การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร...

          - กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สลายเลือดคั่งทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตขนาดเล็ก (Microcirculation) บริเวณกระดูกสันหลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นการขับสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ สารที่ก่อให้เกิดอาการปวด (เช่น สารเบต้าโปรตีน ไกลโคโปรตีนและฮิสตามีน เป็นต้น) รวมทั้งกรดแล็กติกที่สะสมอยู่บริเวณรากประสาทออกไปให้มากขึ้น จึงสามารถลดการระคายเคืองต่อรากประสาทและบรรเทาอาการปวดบวมได้อย่างเด่นชัด
          - การไหลเวียนโลหิตขนาดเล็กบริเวณกระดูกสันหลังที่ดีขึ้นจะทำให้เส้นเอ็น ประสาท กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้นบริเวณที่บาดเจ็บ จึงได้รับการฟื้นฟูและซ่อมแซมได้เร็วขึ้น
          - ปรับลดระดับความรุนแรงของปฏิกิริยาการตอบโต้จากระบบต่อมไร้ท่อเมื่อราก ประสาทขาถูกกดทับ จึงลดการสร้างและการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ พร้อมทั้งลดการหดเกร็งของหลอดเลือดบริเวณที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          - ลดอาการบวมของรากประสาทและบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อลดแรงดึงภายในเส้นประสาทและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณกระเบนเหน็บ และบั้นเอวจึงบรรเทาอาการปวดบวมและฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของเส้นประสาทได้ อย่างเด่นชัด
          อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวที่ขาและอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากรากประสาทขาถูกกดทับจึงค่อย ๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น