แนะควรต้มน้ำก่อนบริโภค

กปน.เผยน้ำจากเมืองเอกไหลทะลักเข้าคลองประปาแล้ว ยันยังไม่พบสารพิษและเชื้อโรคในน้ำ แนะ ปชช.ต้มก่อนบริโภค...

นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการประปานครหลวง กระทรวงมหาดไทยเปิด เผยว่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 ต.ค.น้ำจากเมืองเอก ที่มีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ไหลบ่าท่วมเข้าคลองประปา เป็นช่วงๆ ตั้งแต่ไซฟอนรังสิตถึงแยกสรงประภา ส่งผลให้ระดับน้ำในคลองสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ กปน. ได้แก้ปัญหาโดยร่วมมือกับ กทม. เร่งระบายน้ำทิ้งลงคลองบางเขน บางซื่อ สามเสน แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ทันกับปริมาณน้ำที่ไหลบ่าเข้าคลองประปา ซึ่งคาดว่า อาจจะทำให้พื้นที่ชุมชนข้างคลองประปาต้องประสบน้ำท่วมตามมาอีก
ทั้งนี้ กปน. ได้ร่วมมือกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองพล ปตอ. กรมชลประทานและกรมเจ้าท่า ระดมเรือขุด พร้อมทั้งขอความร่วมมือการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ติดตั้งระบบไฟแสงส่างให้เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำแนวคันกั้นดินเสริมตลอด 24ชั่วโมง เพื่อกั้นน้ำไม่ให้หลากเข้าคลองประปา และยืนยันว่า กปน. จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ สู้กับน้ำท่วมครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันแนวคลองประปา และรักษาระบบผลิตน้ำเพื่อจ่ายน้ำให้กับประชาชนต่อไป
นายเจริญ กล่าวต่อไปว่า สำหรับคุณภาพน้ำในขณะนี้ กปน. ได้เร่งหาวิธีแก้ไขอยู่ตลอดเวลา โดยการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพิ่มคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค เพิ่มการใช้ด่างทันทิมและถ่านกัมมันต์ เพื่อดูดสีและกลิ่นในน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ยังไม่พบเชื้อ อี.โคไล และเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ไม่พบสารพิษ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคทเมียม โครเมียม ปรอท สารหนู ยกเว้นสีและกลิ่น แต่เพื่อความมั่นใจในช่วงนี้ จึงขอให้ประชาชนต้มน้ำก่อนบริโภค


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

น้ำท่วมเสี่ยงอหิวาห์จี้อพยพกาชาดขาดแคลนเลือด

สธ.-กทม.ผวาโรคระบาดทางน้ำ สั่งกรมอนามัยแก้น้ำเน่า-ขยะ-สิ่งแวดล้อม วอนอพยพพ้นพื้นที่น้ำท่วม ชี้เสี่ยงเป็นอหิวาตกโรค สภากาชาดไทยขาดแคลนเลือด

ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ใน ฐานะกำกับดูแลสำนักการแพทย์ กทม. แสดงความกังวลในเรื่องดังกล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสุขาภิบาล ที่ขณะนี้มีขยะตกค้างในพื้นที่น้ำท่วมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เขตบางพลัดมีการเก็บขยะไปแล้ว 33 ตัน ส่วนขยะปฏิกูล กทม.ได้แจกถุงดำให้ประชาชนไว้ขับถ่าย และนำมาทิ้งที่ถังขยะปฏิกูลที่กทม.จัดวางไว้
ส่วนปัญหาสภาพน้ำเน่า กทม.ได้นำผงแบคทีเรีย หรือ EM (Effective Microorganisms) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ นำไปโรยบริเวณที่มีน้ำเน่า เพื่อปรับสภาพน้ำให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันได้ตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในเขตบางพลัด บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 ส่วนในเขตทวีวัฒนา ในบริเวณสมาคมชาวปักษ์ใต้ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแจกจ่ายยาให้กับผู้ประสบภัย

"ขณะนี้ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ไม่อพยพออกจากพื้นที่ จากที่กทม.ได้ประกาศให้ 7 เขตเป็นพื้นที่อพยพ โดยเฉพาะเขตบางพลัดยังมีประชาชนอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก หากประชาชนในเขตต่างๆยังตัดสินใจอยู่ในพื้นที่ต่อไป อาจมีความเสี่ยงกับโรคระบาดที่มาทางน้ำ ได้แก่ โรคตาแดง ท้องเดิน ไข้หวัด และไข้เลือดออก ซึ่งโรคที่น่ากลัวที่สุดคือโรคอหิวาตกโรค เพราะจะนำไปสู่ถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอหิวาตกโรคจะติดต่อจากทางอาหารและน้ำดื่ม ดังนั้นขอให้ประชาชนคิดให้มากๆในเรื่องอพยพ เพราะหากติดโรคแล้วอาจจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น และเมื่อนั้นการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก็จะทำได้ยากยิ่งขึ้นตามไปด้วย" รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

วันเดียวกัน นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมผ่านระบบทางไกลผ่านดาวเทียมหรือวิดีโอยคอนเฟอ เรนซ์ กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมว่า การประชุมวันนี้ยังคงเน้นย้ำเรื่องการรับมือเช่นเดิม คือ ขอให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งเตรียมพร้อมในทุกด้าน ทั้งเรื่องการป้องกันน้ำหลากเข้าท่วม การสำรองยาและเวชภัณฑ์ และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ปลอดภัย รวมทั้งการฟื้นโครงการผลิตน้ำเกลือใช้เอง เนื่องจากคาดว่าน้ำเกลืออาจขาดตลาด โดยเฉพาะสถานบริการที่อยู่ในพื้นที่เพิ่งเริ่มท่วม คือ จ.นครปฐม และจ.สมุทรสาคร ได้มีการประสานเรื่องการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทั้งนี้เชื่อว่าหากน้ำท่วมไม่เกิน 50 ซม. จะสามารถรับมือได้

รมว.สาธารณสุขกล่าวอีกว่า ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอของบประมาณส่วนกลางเพื่อดำเนินการแก้ไข ปัญหาและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมไปแล้ว 109 ล้านบาท ทราบว่างบประมาณจะจัดสรรมาถึงในวันที่ 2 พฤศจิกายนจึงอยากให้กรมต่างๆดำเนินงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้การแก้ปัญหาและติดตามสถานการณ์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกรมอนามัยอยากให้แก้ปัญหาเรื่องน้ำเน่า และจัดการขยะ รวมถึงอนามัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในศูนย์พักพิงและพื้นที่น้ำท่วมขังด้วย เพราะเกรงว่าจะเกิดโรคระบาด เช่น ไข้เลือดออก โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.ที่เป็นชุมชนซึ่งมีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น หากเป็นพื้นที่ท่วมขังอาจเสี่ยงต่อการเกิดพาหะนำโรค

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การสำรองยาและเวชภัณฑ์ วันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ เตรียมหารือกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า จำเป็นต้องนำเข้ายาและเวชภัณฑ์เพิ่มหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้จะมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังภูมิภาคเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องกระจายยาและเวชภัณฑ์ไปด้วย อย่างไรก็ตาม อยากขอความร่วมมือให้โรงพยาบาลทุกแห่งอย่าเพิ่งกักตุนยาให้มากนัก หากมีเพียงพอก็ขอความร่วมมือในการสนับสนุนก่อนเพื่อจะได้อำนวยความสะดวกใน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่

ด้าน พญ.สร้อยสอางค์ สร้อยพิกุดสด ผู้อำนวนการกองบริจาคโลหิต สภากาชาดไทย กล่าวว่า ขณะนี้สภากาชาดไทยประสบปัญหาขาดแคลนเลือดที่ประชาชนบริจาค เนื่องจาก 2 สาเหตุหลักคือ 1. ในช่วงเดือนตุลาคม นิสิต นักศึกษาที่เป็นผู้บริจาคส่วนใหญ่ปิดเทอม ทำให้การบริจาคเลือดจากคนกลุ่มนี้มีจำนวนลดลง และ 2.สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลให้ผู้บริจารไม่สามารถเดินทางมาบริจาคเลือดได้ เหมือนเดิม  อีกทั้งก่องบริจาคโลหิตที่มีหน่วยออกไปรับบริจาคไม่สามารถเข้าไปรับบริจาคได้

ศ.คลินิก พ.ธีระวัฒน์ กุลทันทน์ คณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในที่ประชุมหารือแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รพ.ศิริราช ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ได้วางแผนเตรียมอพยพเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและบุคลากร โดยมีผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือมาร่วมชี้แจงการเคลื่อนย้าย หากสถานการณ์น้ำสูง 1 เมตร จะย้ายทางเรือ ทั้งหมด  4 ท่า คือท่าพรานนก ท่าศิริราช ท่ารถไฟ และท่าริมคลองบางกอกน้อย ไปยัง รพ.ศูนย์สิริกิติ์ รพ.หัวหิน รพ.ราชบุรี รพ.หหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี โดยสรุปยอดผู้ป่วยวันนี้ 738 ราย ผู้ป่วยหนัก 352 ราย ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ 98 รายผู้ป่วยธรรมดา 288 ราย
        

ที่มา :หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 

น้ำท่วมทำคนเครียดทะลุแสน

สธ.เผยจากปัญหาภัยน้ำท่วมพบผู้ ประสบภัยมีความเครียดทะลุแสนราย เสี่ยงฆ่าตัวตายอีกเฉียดพันราย และต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษ 1,575 ราย ให้ยาคลายกังวล 4,943 ราย
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่น้ำท่วมทุก จังหวัด จนถึงปัจจุบัน พบผู้เจ็บป่วยแล้วประมาณ 1.3 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ผลการตรวจสุขภาพจิตใน 37 จังหวัดพบมีความเครียด 110,860 ราย เครียดระดับสูง 5,616 ราย ซึมเศร้า 6,692 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 998 ราย และต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษ 1,575 ราย ให้ยาคลายกังวล 4,943 ราย

ในส่วนของ กทม.จากการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เชิงรุก 8 ทีม ไปบริการที่เขตทวีวัฒนา สายไหม และบางพลัด มีประชาชนเจ็บป่วยประมาณ 800 ราย นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังส่ง อสม. 11,856 คน ไปปฏิบัติงานดูแลฟื้นฟูสุขภาพ และดูแลด้านสิ่งแวดล้อมผู้ประสบภัยที่อยู่ในศูนย์พักพิงต่างๆ จำนวน 216 แห่ง ให้บริการไปแล้ว 82,821 ราย


ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

'17 มาตรการ' ป้องกันอันตรายจากภัยน้ำท่วม

กรมควบคุมโรคแนะ "17 มาตรการ" ป้องกันอันตรายจากภัยน้ำท่วม ระบุสาเหตุส่วนใหญ่ของการจมน้ำเกิดจากการหมดแรงหรือการได้รับอุบัติเหตุ ชนกระทบกระแทกกับวัตถุ...

เมื่อวันที่ 13 ต.ค. เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยง และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมที่วิกฤติหลายจังหวัดของประเทศไทยในขณะนี้ ส่งผลให้ประชาชนประสบความเดือดร้อนในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านที่อยู่อาศัย อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม และความเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่มากับน้ำท่วม เช่น น้ำกัดเท้า อุจจาระร่วง ไข้ฉี่หนู ตาแดง ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก รวมทั้งอันตรายจากภัยสุขภาพจากน้ำ เช่น การตกจมน้ำ ไฟฟ้าช๊อต สัตว์มีพิษอันตราย ฯลฯ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการจมน้ำเกิดจากการหมดแรงหรือการได้รับอุบัติเหตุ ชนกระทบกระแทกกับวัตถุ
ขณะที่มีการจมน้ำระยะแรกผู้จมน้ำจะพยายามหายใจเอาอากาศเข้าไปให้มากที่ สุด แต่ส่วนใหญ่จะเกิดอาการสำลักน้ำเข้าไปในปอด หลังจากนั้นเกิดอาการหมดสติ ชักเกร็ง และหัวใจหยุดเต้นในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตผู้ประสบภัยช่วงนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ สิ่งที่ควรระมัดระวังที่สำคัญช่วงน้ำท่วมที่พบการเสียชีวิตและบาดเจ็บของ ประชาชนจำนวนมากเช่นกัน คือ อันตรายจากกระแสไฟฟ้าดูด หรืออาจจะถูกเรียกอีกอย่างว่าไฟช๊อต ที่เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายส่งผลทำให้เสียชีวิต หรือพิการ การดำเนินชีวิตในช่วงน้ำท่วมจึง มีความเสี่ยงหลายประการจากจากภัยอันตรายต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินชีวิตในช่วงน้ำท่วมของผู้ประสบภัยเป็นไปด้วยความปลอดภัย จึงขอแนะนำให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

เภสัชกรเชิดเกียรติ เผยคำแนะนำมาตรการจำเป็น 17 ประการเพื่อการป้องกันโรคและภัยจากน้ำท่วม ดังนี้ 

1) หากจำเป็นต้องเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำควรเตรียมตัวอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อม หรือนำอุปกรณ์ประยุกต์ที่หาง่ายติดตัวไปด้วยเสมอ เช่น ถังแกลลอนเปล่าปิดฝา ขวดน้ำพลาสติกเปล่าปิดฝา
2) ให้ระวังเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว เพราะอาจถูกกระแสน้ำพัดพาหรือตกลงในบ่อน้ำลึกได้
3) อย่าพยามยามวิ่งหรือขับรถผ่านในที่มีน้ำไหลเชี่ยว
4) ควรงดการดื่มสุรา เนื่องจากทำให้ทรงตัวไม่ดีเพิ่มโอกาสลื่นล้ม พลัดตกจมน้ำ หรือ งดตัดสินใจทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เช่น กระโดดจากสะพานลงเล่นน้ำ
5) ให้ตัดสวิทซ์กระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดหรือช็อต ขณะเกิดน้ำท่วมขัง
6) เก็บของมีค่าและจำเป็นขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม
7) จัดเตรียมของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น น้ำดื่ม ไฟฉาย ยารักษาโรคพื้นฐาน ยาโรคประจำตัว และสิ่งของที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตอื่นๆ
8) อาหารกล่องที่ได้รับแจก ควรรับประทานทันทีอย่าเก็บไว้ เพราะจะทำให้อาหารบูด เน่าเสีย อาหารเป็นพิษได้ หากมีเหลือควรทิ้งใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุง
9) ล้างมือก่อนรับประทานอาหารหรือหลังออกจากห้องน้ำ ห้องส้วมทุกครั้ง
10) ไม่ควรใช้มือขยี้ตาอาจทำให้ตาติดเชื้อ และอาจเสี่ยงเป็นโรคตาแดงได้
11) ในกรณีที่มีบาดแผล ไม่ควรเดินลุยย่ำน้ำ ย่ำโคลน ควรใส่รองเท้าบูทหรือถุงพลาสติกยาวป้องกันเท้าและสวมทับด้วยถุงเท้าและ รองเท้า แต่หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ย่ำน้ำเสร็จแล้วควรทำความสะอาดเท้าและแผลแล้วเช็ดให้แห้ง
12) กรณีมีสัตว์ป่วยตาย ให้ใส่ถุงพลาสติกแล้วผูกให้มิดชิด หรือนำไปฝัง เผา ไม่ควรนำทิ้งลงน้ำอาจทำให้แพร่เชื้อในกระแสน้ำเกิดโรคระบาดได้
13) ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงมาอยู่ใกล้ชิดเพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์ได้
14) สำรวจภาชนะที่มีน้ำขังให้คว่ำไว้ เพื่อป้องกันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพาหนะโรคไข้เลือดออก
15) ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ และดื่มน้ำสะอาด
16) ทิ้งขยะและเศษอาหารในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้มิดชิดห้ามทิ้งลงน้ำ และสุดท้าย
17) ให้ระมัดระวังสัตว์มีพิษ กัด ต่อย พร้อมทั้งหมั่นสำรวจตรวจตราบ้าน กองผ้า ถุงใส่ของ เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหลบเข้าไปอยู่อาศัยใกล้ตัว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

หลากคำถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่


กลับมาระบาดอีกครั้งสำหรับโรคไข้หวัด ใหญ่ 2009 ซึ่ง ณ วันนี้กลายเป็นหนึ่งในโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไปแล้ว และล่าสุด มีผู้ป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก

          ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้เร่งรณรงค์ให้ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่ม เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2010 ฟรี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ตุลาคม 2553 ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ  โดยวัคซีน 1 เข็ม ครอบคลุมโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไข้หวัดใหญ่ชนิด B และไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ H3N2 (ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) วันนี้กระปุกดอทคอม จึงมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2010 มาบอกกันค่ะ
 
ใครคือบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีน

          1. หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 7 เดือนขึ้นไป

          2. คนอ้วนน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมขึ้นไป

          3. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

          4. บุคคลอายุ 6 เดือนขึ้นไปที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งอยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันผิดปกติ

          5. ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

          6. เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี

          7. บุคลากรสาธารณสุขและผู้มีหน้าที่กำจัดซากสัตว์ปีก

           ทั้งนี้ สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง สามารถติดต่อสอบถามไปยังโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชนที่ให้บริการ เพื่อขอฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่อวัคซีน 1 เข็มแตกต่างกันตามแต่ละโรงพยาบาล

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน

ผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ คือ

          ผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ หรือโปรตีนจากไก่ หรือไข่

          ผู้ที่เคยแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

          ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง

          เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน

          ผู้ที่กำลังมีไข้ หรือมีการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน

          ผู้ที่มีอาการโรคประจำตัวกำเริบ ไม่สามารถควบคุมได้

          แต่หากเป็นหวัดเล็กน้อย และไม่มีไข้ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้

ช่วงเวลาที่เหมาะในการฉีดวัคซีน

           ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูผล ก่อนเกิดการระบาดของโรค และช่วงก่อนฤดูหนาวในเดือนตุลาคม โดยวัคซีนนี้ต้องฉีดซ้ำทุก 1 ปี เนื่องจากแต่ละปีเชื่อไวรัสจะมีการกลายพันธุ์ จึงต้องมีการผลิตวัคซีนขึ้นมาใหม่ทุก ๆ ปี

วัคซีนสามารถป้องกันได้เมื่อไหร่

           หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว จะต้องใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไข้หวัดใหญ่ชนิด B และไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ H3N2 (ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) แต่วัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันไข้หวัดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ อื่น ๆ หรือโรคหวัดทั่วไปได้

อาการหลังฉีดวัคซีน

           ผู้ที่ฉีดวัคซีนบางคนอาจมีอาการบวมแดง ปวด เป็นตุ่มนูนบริเวณที่ฉีด บางคนอาจเป็นไข้ มีอาการปวดเมื่อยตามมา แต่จะหายได้เองภายใน 1-2 วัน แต่หากใครเกิดอาการหายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หายใจเสียงดัง เกิดลมพิษ หน้าซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือเวียนศีรษะ ให้รีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจแพ้วัคซีนดังกล่าว

หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 มาก่อน จะฉีดวัคซีนตัวนี้ได้อีกหรือไม่

           สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ได้อีก เนื่องจากเมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไปแล้ว ร่างกายจะมีภูมิต้านทานอยู่ได้ประมาณ 6 - 12 เดือน หากฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์เข้าไปอีก จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย

ที่มา : kapook.com

รู้ไว้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่

รู้ไว้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)

          โรคไข้หวัด 2009 ปัจจุบันกลายมาเป็น "ไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล" แล้ว และกลับมาระบาดอีกครั้งหนึ่ง วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาแนะนำ เพื่อให้พวกเราเฝ้าสังเกตอาการ และป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้ทันท่วงทีค่ะ

โรคไข้หวัดใหญ่

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

          อยู่ในฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
         
          ช่วงป่วย 3 วันแรก มีโอกาสแพร่เชื้อได้มากสุด

เราติดเชื้อได้อย่างไร
         
          ถูกผู้ป่วยไอจามรด ในระยะ 1 ช่วงแขน
         
          จับต้องสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย เช่น โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ผ้าเช็ดมือ ลูกบิดประตู แล้วใช้มือมาแคะจมูกขยี้ตา จับปาก

อาการป่วย

          หลังได้รับเชื้อ 2-3 วัน (มักไม่เกิน 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหลบางคนอาจมีอาเจียน ท้องเสียด้วย

หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่...ใครบ้างต้องรีบไปโรงพยาบาล...?

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

          ไข้สูง ไม่ลดลงภายใน 2 วัน

          ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจถี่ หอบเหนื่อย
         
          ซึม อ่อนเพลียมาก เด็กร้องไห้งอแงมาก
         
          กินอาหารไม่ได้ หรือกินน้อยมาก
         
          อาเจียน ท้องร่วงมาก มีภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง ตาโหล
         
          ปัสสาวะน้อย ปลายมือปลายเท้ามีสีม่วงคล้ำ

ผู้ป่วยที่เสี่ยงป่วยรุนแรง
       
          หญิงมีครรภ์ เสี่ยงป่วยรุนแรงกว่าคนทั่วไป 4 เท่า
         
          ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด หัวใจ ไต เบาหวาน โรคเลือด มะเร็ง เอดส์ ฯลฯ
         
          ผู้พิการทางสมอง
         
          คนอ้วนมาก (น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป)
         
          เด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 2 ปี
         
          ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน

อาการป่วยไม่รุนแรง คือ ไข้ไม่สูง ไม่อ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้

          รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

          หากติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้หมดตามที่แพทย์สั่ง

          เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ เช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เช็ดบริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกไว้ เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้าให้อบอุ่นทันที

          ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด

          รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง

          ทำจิตใจให้สบาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และ
อากาศถ่ายเทสะดวก

           "อาการจะค่อย ๆ ทุเลา และหายป่วยภายใน 5 ถึง 7 วัน แต่...ห้ามออกกำลังกายหรือทำงานหนักเพราะอาการอาจทรุดลงได้!"

ที่มา : kapook.com

เตือนกินเจ-ระวัง "สารฟอกขาว"


เตือนไปยังประชาชนที่บริโภคอาหาร เจ ว่าขอให้ดูรายละเอียดของอาหารด้วย เพราะส่วนผสมของอาหารเจ ไม่ว่าจะเป็น หน่อไม้จีน เยื่อไผ่ และผักแห้งหลายอย่าง มีส่วนผสมของสารฟอกขาวอยู่ ซึ่งถ้าล้างไม่สะอาดหรือแค่แช่น้ำอย่างเดียว สารฟอกขาวจะไม่ออกทั้งหมด
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจพบอาหารเจปลอมว่า ในแง่ของบทลงโทษต้องไปดูข้อกฎหมายอีกครั้ง แต่เราคงไม่ได้มุ่งมั่นไปกล่าวโทษกับผู้ประกอบการ เพียงแต่ต้องมีการกล่าวตักเตือน เพื่อให้มีจิตสำนึกในการดูแลส่วนผสมและคุณภาพอาหารของประชาชนที่ร่วมถือศีล กินเจ ทั้งนี้ตนจะออกหน่วยร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อตรวจตราคุณค่าทางอาหาร สารปนเปื้อน และสารตกค้างในอาหารเจให้มากขึ้น
รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า จึงขอเตือนไปยังประชาชนที่บริโภคอาหารเจ ว่าขอให้ดูรายละเอียดของอาหารด้วย เพราะส่วนผสมของอาหารเจ ไม่ว่าจะเป็น หน่อไม้จีน เยื่อไผ่ และผักแห้งหลายอย่าง มีส่วนผสมของสารฟอกขาวอยู่ ซึ่งถ้าล้างไม่สะอาดหรือแค่แช่น้ำอย่างเดียว สารฟอกขาวจะไม่ออกทั้งหมด หรือถ้าล้างนานเกินไป คุณค่าทางอาหารก็จะหายไปด้วย จึงอยากให้ประชาชนใส่ใจรายละเอียดเหล่านี้ เพราะอยากให้ประชาชนอิ่มบุญ กินเจอย่างมีความสุข และถูกอนามัย


ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

แอพพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพ

เครื่องมือทางสุขภาพออนไลน์
1. ประเด็นสุขภาพที่โลกกำลังจับตามอง (Global spotlight on health) หรือแนวโน้มงานการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion Trends)


แอพพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพ
การส่งข้อความทางด้านสุขภาพผ่านมือถือก็ยังเป็นตัวกำหนดค่าที่ราคาถูกที่สุดที่หาได้โดยทั่วไป

รายละเอียด
ปัจจุบันนี้มีแอพพลิเคชั่น มากกว่า 250, 000 แอพฯ ที่พร้อมใช้สำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนอย่างไอโฟนและมีมากกว่า 30, 000 แอพฯ สำหรับสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และอีกหลายพันแอพฯ สำหรับอุปกรณ์แบล็กเบอร์รี่

แอพฯ ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัว ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในแนวโน้มใหญ่ๆ ที่จะเกิดขึ้นสำหรับภาคการดูแลรักษาสุขภาพ แต่คำถามก็คือ เราถึงขั้นนั้นกันหรือยัง? ตามการสำรวจของโครงการที่มีชื่อว่า Pew Internet and American Life Project พบว่าร้อยละ 17 ของผู้ใช้โทรศัพท์ติดตามตัว ได้ใช้โทรศัพท์ของพวกเขาเพื่อค้นหาข้อมูลทางการแพทย์หรือข้อมูลทางสุขภาพ แต่มีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่มีแอพพลิเคชั่นซอฟท์แวร์บนมือถือที่ช่วยพวกเขาในการสืบย้อนหรือ จัดการสุขภาพ

สำหรับการส่งข้อความสั้น ๆ หรือเอสเอ็มเอส (SMS) นั้นไม่ได้ต้องการการครอบครองสมาร์ทโฟน หรือต้องดาวน์โหลดแอพฯ หรือการเรียนรู้อะไรมากมายเลย มันเกือบจะใช้ได้กับโทรศัพท์ทุกเครื่องและกับทุกคน รวมไปถึงคนรุ่น ปู่ รุ่นย่าสามารถศึกษาวิธีการทำงานของมันได้  ดังนั้นแม้ในขณะที่แอพฯ สุขภาพในโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัวจะดำเนินวิวัฒน์ต่อไปและกลายเป็นสิ่ง ยอดนิยมมากขึ้น  การส่งข้อความทางด้านสุขภาพผ่านมือถือก็ยังเป็นตัวกำหนดค่าที่ราคาถูกที่ สุดที่หาได้โดยทั่วไป

2. ออนไลน์คอร์ส (Health Promotion on-line course)


ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านวิดีโอหรือเสียงออดิโอ บนเว็บไซท์อินเตอร์เน็ตที่กำลังเปิดอยู่ได้เลย โดยไม่ต้องทำการต่อผ่านเครื่องมืออื่นๆ แต่อย่างใด

รายละเอียด
เป็นชั้นเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยยูทาห์  (University of Utah) โดยผู้เรียนสามารถเรียนผ่านวิดีโอหรือเสียงออดิโอ บนเว็บไซท์อินเตอร์เน็ตที่กำลังเปิดอยู่ได้เลย โดยไม่ต้องทำการต่อผ่านเครื่องมืออื่น ๆ แต่อย่างใด มีทั้งภาพกราฟฟิก วิดีโอ เสียงออดิโอ การนำเสนอแบบ พาวเวอร์พอยท์ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้าช่วยจะทำให้กระบวนการเรียนรู้น่าสนใจและมีชีวิต ชีวามากขึ้น ส่วนผู้ที่เป็นนักฝึกอบรมก็สามารถเข้าไปใช้บทเรียนเหล่านี้เป็นสื่อในการ เรียนการสอนได้ด้วย

ประเด็นต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ เช่น อาการแพ้และพิษจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย การจัดการโรคหืดหอบและการ รักษา เลือดออก ภาวะฉุกเฉินของโรคเบาหวาน การจัดทำเอกสาร การดำเนิน ชีวิต/ไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพ ฯลฯ  

ที่มา :สำนักต่างประเทศ สสส.

อารมณ์เหวี่ยง 'สาวออฟฟิศ' ต้นเหตุโรคทำลายสุขภาพ

จากการสำรวจของสวนดุสิตโพลเผยให้ ทราบว่า อาชีพสาวออฟฟิศ ถือเป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดความเครียดและอารมณ์เหวี่ยงในผู้หญิงติดอันดับ หนึ่ง ซึ่งสาเหตุนั้นมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ไม่ว่าจะเป็นภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลสมาชิกในครอบครัว ประกอบกับการที่ผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้านไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งปัจจัยภายในที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนก่อนมีประจำ เดือน 5 วัน หรือที่เรียกกันว่า PMS ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงออฟฟิศ เกิดความเครียดและมีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย



ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ช่วงอายุ 25-35 ปีนั้น เป็นวัยที่สาวๆ ออฟฟิศมักตกอยู่ในความเครียดมากที่สุด ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ 

1. ควรหาเวลาออกกำลังกาย เพราะการออก กำลังกายนั้นจะช่วยทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟีน หรือสารแห่งความสุขออกมา และเมื่อสารเหล่านี้ถูกหลั่งออกมา ก็จะสามารถขจัดอารมณ์เครียดหรือฉุนเฉียวลงได้
2. การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็ช่วยได้เช่นกัน
3. การรับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ หรือรับประทานสมุนไพรบางชนิด เช่น แปะก๊วย หรือน้ำมันดอกอีฟนิงพริมโรสและวิตามินบี หากรับประทานผักผลไม้และสมุนไพรยังไม่ได้ผล คุณหมอแนะนำว่า ควรรับประทานยาปรับฮอร์โมน ซึ่งยาดังกล่าวช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนบางชนิดในร่างกาย แต่หากอาการรุนแรงและส่งผลต่อคนรอบข้าง อาจต้องรับประทานยาลดความวิตกกังวล (อยู่ในการพิจารณาของแพทย์)
4. การหลีกเลี่ยงจากสภาพที่ ทำให้เกิดความเครียดก็สามารถช่วยได้
นอกจากวิธีที่กล่าวมานั้น คุณหมอแนะนำว่า การปรับสภาพแวดล้อมภายในที่ทำงาน ก็สามารถลดความเครียดและอารมณ์ฉุนเฉียวลงได้ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าสาวออฟฟิศมักถูกจำกัดด้วยเวลาที่เร่งรีบ และมีพื้นที่ในการทำงานที่ค่อนข้างแคบ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนที่ทำงานให้มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย รวมถึงเน้นการ สื่อสารในที่ทำงานด้วยการพูดคุยกันให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดการขัดแย้งหรือข้อผิดพลาดในการทำงานลงได้
และที่สำคัญการจัดเวลาของการทำงานให้เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป หรือประมาณ 8 ชั่วโมง ก็เป็นอีกหนทางในการลดความเครียดลงได้ เพราะระยะของการทำงานที่พอดีจะช่วยให้ผู้ทำงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พูดง่ายๆ ว่าไม่เหนื่อยและไม่เร่งรีบมากจนเกินไปก็จะไม่เกิดความเครียดนั่นเอง
คุณหมอกล่าวย้ำว่า หากปล่อยอารมณ์เครียดและอารมณ์เหวี่ยงเอาไว้จะส่งผลกระทบต่อตนเอง โดยเฉพาะด้านจิตใจของตัวผู้เครียดเอง และอาจทำให้ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า หมดกำลังใจในการทำงานได้ รวมถึงกระทบต่อความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ทำให้เพื่อนร่วมงานไม่อยากปฏิสัมพันธ์หรือพบปะพูดคุยด้วย ขณะเดียวกันก็จะส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว อันอาจจะนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง และเป็นต้นเหตุของการหย่าร้างได้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหัวเรื้อรัง โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดต่างๆ ได้


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

กรมควบคุมโรคแนะระวังโรคจากน้ำท่วม



นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเกิดอุทกภัยได้นำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การจมน้ำ บาดเจ็บ สัตว์มีพิษกัด และบาดแผลติดเชื้อ หอบหืดเฉียบพลัน น้ำกัดเท้าและผื่นคัน และจากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาบ่งชี้ว่ามีโอกาสที่จะเกิดการระบาด ของโรคติดต่อทั้งในระยะที่เกิด น้ำท่วมและภายหลังน้ำท่วม โดยโรคติดต่อที่มักจะระบาดในระยะที่เกิดน้ำท่วมคือโรคทางเดินอาหารและโรค หวัด โรคตาแดง และระยะหลังน้ำท่วมโรคติดต่อที่ระบาดคือโรคติดต่อนำโดยแมลง โรคเลปโตสไปโรซิส โรคไข้เลือดออก โรคหัด และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจพบการระบาดของโรคเหล่านี้ภายหลังน้ำท่วมนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยพบว่าโรคเลปโตสไปโรซิสและโรคตาแดงจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง ของการเกิดอุทกภัย

ทั้งนี้กรมควบคุมโรคได้ตั้งระบบเฝ้าระวังโรคในภาวะอุทกภัยขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของปัญหาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนใน พื้นที่เกิดอุทกภัย สามารถตรวจสอบการระบาดและติดตามแนวโน้มการป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่สำคัญ เพื่อเตรียมการป้องกันควบคุมโรคในภาวะฉุกเฉินได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม มีความยืดหยุ่น และเฉพาะเจาะจงสำหรับเหตุการณ์และพื้นที่ โดยใช้ 6 กิจกรรมหลักในการเฝ้าระวังโรค ได้แก่ 1.การวินิจฉัย 2.การรายงานผู้ป่วย 3.การยืนยันโรค 4.การวิเคราะห์ข้อมูล 5.การจัดทำรายงาน 6.การส่งกลับรายงาน

และ 4 กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การสื่อสาร การอบรม การนิเทศงาน และการสนับสนุนทรัพยากร ซึ่งจะมีการดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังโรคที่มีโอกาสเกิดการระบาดขึ้นได้ภายหลังน้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด

นพ.นานิต กล่าวแนะนำว่า ประชาชนต้องรู้จักป้องกันตนเองเพื่อความปลอดภัยจากโรคต่างๆ ด้วยการไม่ให้สัมผัสกับน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อ เช่น หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำเป็นเวลานานและควรล้างเท้าหลังย่ำน้ำ หรือหากจำเป็นควรใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ได้แก่ รองเท้าบู๊ต ป้องกันการสัมผัสน้ำสกปรก ในภาวะน้ำขังอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและแมลงวัน ควรกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์โดยเก็บขยะเปียกใส่ถุงและรัดปากถุงให้มิดชิด ดูแลสุขาภิบาลเรื่องอาหารและน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง และมีอาการตาแดงขอให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที เพื่อให้การดูแลรักษาโดยเร็ว หากมีการย่ำน้ำลุยโคลนที่มีน้ำขังต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย มีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

ผู้ป่วยมะเร็งกินครบ 5 หมู่ป้องกันร่างกายอ่อนแอจากการรักษา

แพทย์มะเร็งวิทยาสมาคมแนะ ผู้ป่วยมะเร็ง ต้องกินอาหารคบ 5หมู่ เหตุร่างกายอ่อนแอจากการรักษา พร้อมเตือนคนปกติ กินไม่เลือก ระวังโรคร้ายคุกคาม ชี้พฤติกรรมการกินอาหารไม่เหมาะสม เป็น 1ใน 3สาเหตุของการเกิดมะเร็งทั้งหมด
วันนี้ (11 ส.ค.) ผศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ อุปนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยและหัวหน้าหน่วยงานมะเร็งวิทยาภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาส่วนหนึ่งที่พบในผู้ป่วยมะเร็งส่วนมาก ที่ ผ่านการรักษาด้วยรังสี การฉายแสง การทำเคมีบำบัดและการทานยาหลายอย่างรวมกัน จนเกิดผลข้างเคียง คือ อาจอ่อนเพลีย อาเจียน หมดแรง ทำให้บางครั้งเบื่ออาหาร ประกอบกับมีความเชื่อว่า ควรงดอาหารบางประเภท เช่น โปรตีนจากนม จากเนื้อปลา หรือบางรายกังวลว่า การทานผัก ผลไม้สดสดจะก่อให้เชื้อมะเร็งลุกลามได้เร็ว ดังนั้นจึงมักเลือกรับประทานอาหารเฉพาะอย่างตามความเชื่อ เช่น ดื่มนมอย่างเดียว หรือน้ำสมุนไพร ในปริมาณมาก และทานอาหารพวกวิตามินมากเกินไป จนร่างกายซูบผอมอยู่ในภาวะที่โภชนาการแย่ ส่งผลให้แพทย์ไม่สามารถรักษาตามแผนที่วางไว้ได้
เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ เช่น จากแผนปกติจะใช้เวลารักษาด้วยการทำเคมีบำบัด 2-3 สัปดาห์ต่อครั้งซึ่งยาที่ใช้อาจมีประสิทธิภาพพุ่งถึง 80% แต่เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร จำเป็นต้องรอเวลาหรือเลื่อนไปเป็น 4-5 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อม ซึ่งประสิทธิภาพก็จะลดลงไปด้วย โดยในระหว่างนี้ต้องกำชับให้ทานอาหารคบ 5หมู่ หรือถ้าในกรณีเบื่ออาหารมากก็ใช้วิธีการทานอาหารระหว่างมื้อ เช่น น้ำเต้าหู้กับธัญพืช
ผศ.นพ.วิโรจน์ กล่าวด้วยว่า ในกรณีการสั่งงดอาหารบางประเภท นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพอาการของตัวผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็งชนิดใด อายุเท่าใด ร่างกายขาดอะไร ซึ่งต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ แต่หลักๆ นั้นร่างกายทุกคนยังจำเป็นต้องใช้สารอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดหรือลูคิวเมีย มะเร็งชนิดดังกล่าวระดับเม็ดเลือดขาวจะต่ำมาก ภูมิต้านทานก็จะด้อย จำเป็นต้องทานผักหรือผลไม้ปรุงสุก เนื่องจากผักผลไม้สด อาจปนเปื้อนปุ๋ยคอก ที่มีแบคทีเรียอยู่ด้วย ขณะที่ผู้ป่วยสูงวัยอายุมากกว่า 40 ปีก็จำเป็นต้องเน้นอาหารกลุ่มแคลเซียมให้มากกว่าเดิม ส่วน วิตามีนซีนั้นทานในปริมาณปกติ อาจรับได้จากผลไม้รสหวานเปรี้ยว ซึ่งไม่จำเป็นต้องทานชนิดเม็ด ในปริมาณมาก เพราะแต่ละวันร่างกายขับวิตามินซีออกมาอยู่แล้ว
ด้าน นพ.กสานติ์ สีตลารมณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แผนกมะเร็งวิทยา กองอายุรกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า และกรรมการมะเร็งวิทยสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อาหารอาจไม่ใช่สาเหตุหลักที่ก่อมะเร็ง แต่ถือได้เป็นสาเหตุ 1ใน 3ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้หลายอย่าง รองจากการติดเชื้ออื่นๆ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบกับสูบบุหรี่ หลักๆได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็ง เต้านม ซึ่งเหล่านี้เกิดจากการกินอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งมีอยู่ในเนื้อสัตว์ เช่น หมูสามชั้น รวมทั้งอาหารทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำๆ หลายครั้งด้วย ขณะที่มะเร็งตับอาจเกิดจากการกินอาหารที่ปรุงไม่สุก ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงมะเร็งควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มเสี่ยงก็จะเป็น ผลดี ได้แก่ กลุ่ม อาหาร หมักดองเค็มและเนื้อสัตว์เค็มตากแห้ง ที่ใส่ดินประสิว (โปแตสเซียมไนเตรท) สารไนไตรท์ สามารถเปลี่ยนเป็นสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกายได้ จึงควรกินอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง กลุ่มอาหารที่มีเชื้อราขึ้น อาจมีสารพิษ อะฟลาท๊อกซิน (Aflatoxin X ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ เช่น ถั่ว พริกป่น หรืออาหารที่ผสมสีย้อมผ้า เป็นต้น
“เมื่อร่างกายได้รับสารดังกล่าวจะสะสมนานๆหลายสิบปี จึงปรากฏอาการป่วย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้เกิดขึ้นทุกราย แต่ การหลักเลี่ยง หรือทานในปริมาณที่พอเหมาะ ย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพ อย่างน้อยก็ลดปัจจัยเสี่ยงได้ส่วนหนึ่ง และที่สำคัญต้องออกกำลังกายให้มาก พยายามงดเหล้า งดบุหรี่ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ก่อมะเร็งได้เช่นกัน” นพ.กสานติ์ กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ

ชายรักชายเสี่ยง "มะเร็งทวารหนัก" 40 เท่า

ชายรักชายเสี่ยง “มะเร็งรูตูด” หนักกว่าคนทั่วไป 40 เท่า เชื้อไวรัสเอชพีวีตัวเดียวกับมะเร็งปากมดลูกในหญิง แนะชายตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ในงานสัมมนาวิชาการการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วย เอดส์ระดับประเทศ ครั้งที่ 3 จัดโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และภาคีเครือข่าย กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข
โดย พญ.นิตยา ภานุภาค แพทย์ประจำศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวในการเวิร์กช็อปถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องเริ่มตรวจมะเร็งปากทวาร หนัก (Anal Pap Smear) ว่า จากการศึกษาสถานการณ์ของคลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ เกี่ยวกับสถานการณ์ความนิยมเข้าตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากทวารหนักในกลุ่มชายรักชาย (MSM) และเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง มีประมาณร้อยละ 30 ขณะที่กลุ่มหญิงรักชายมีประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น
“การตรวจคัดกรองทางคลินิกจะบริการตรวจพร้อมๆ กับเชื้อเอชไอวี จากการศึกษาในกลุ่มชายรักชายเกือบ 250 ราย ทั้งผู้ที่ติดเอชไอวีและไม่ติดเชื้อเอชไอวี พบว่า ร้อยละ 10-15 มีเสี่ยงจะเป็นมะเร็งปากทวารหนัก โดยกลุ่มดังกล่าวไม่มีอาการป่วย ส่วนอุบัติการณ์มะเร็งปากทวารหนักในประเทศไทยยังไม่มีสถิติที่แน่นอน แต่อัตราการป่วยทั่วโลกพบว่า ในคนทั่วไปมีอัตราการป่วยแค่ 1 ต่อแสนประชากร แต่ในกลุ่มชายรักชายอัตราการป่วยมากกว่าคนทั่วไปถึง 40 เท่า คือป่วย 40 รายต่อแสนประชากร ขณะที่กลุ่มชายรักชายซึ่งติดเชื้อเอชไอวีจะมีอัตราการป่วยอยู่ที่ 80 รายต่อแสนประชากร หมายความว่าอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยเอชไอวีจะสูงที่สุด จึงต้องเร่งตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อหารอยโรคได้ทันและง่ายต่อการรักษา“พญ.นิตยากล่าว
พญ.นิตยา กล่าวอีกว่า วิธีการตรวจคัดกรอง คือ วิธี Anal Pap Smear คือ การป้ายเอาเยื่อในช่องรูทวารลึกลงไปราว 2 ซม.แล้วมาส่องกล้องหาเชื้อ หากพบเชื้อก่อนมะเร็ง สามารถรักษาด้วยการจี้เลเซอร์ จี้ไฟฟ้า และจี้เย็น เพราะการลุกลามของเชื้อนั้นยาวนานไม่ต่างกันกับมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยใน เพศหญิง แต่มะเร็งปากทวารหนักสามารถเกิดได้ทั้งหญิงและชาย สาเหตุจากการมีเพศสัมพันธ์ทางรูทวาร ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ จะเร่งศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่าเดิม เพื่อจะได้รู้ถึงอุบัติการณ์ของโรคที่ชัดเจน ก่อนจะเสนอแนวทางในการตรวจคัดกรองแก่ สธ.ต่อไป เพื่อเตรียมรับมือรักษาโรคดังกล่าว

ที่มา : สสส.

ฟีโรโมน

ฟีโรโมน

สิ่งที่ควรรู้ !!!

ฟีโรโมน ไม่ใช่น้ำหอม กลิ่น ฟีโรโมน เป็น สารเคมี ธรรมชาติที่ร่างกายของมนุษย์ผลิตขึ้นในอัตราส่วนขั้นต่ำเป็นสารที่ช่วยให้ คุณ ด ึงดูด ความสนใจ จากคนอื่่นๆหรือจาก เพศตรงข้าม
ดังนั้นเราจึงผลิต สารฟีโรโมน ใน ห้องปฎิบัติการ เราเองเพื่อที่จะช่วยให้เรื่องต่างๆ ในชีวิตของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิตคู่ การออกเดท การเข้าสังคม รวมไปถึง การติดต่อธุรกิจ และยังช่วยทำให้คุณเป็นคนที่มี ความมั่นใจสูงขึ้น



พี โร โมน คือ สารธรรมชาติ ที่ ร่างกายมนุษย์ ผลิตขึ้นมา จากการศึกษา การใช้ชีวิตของสัตว์โลก สารฟีโรโมน ได้มีบทบาทเป็นอย่างมากต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมกันเป็นสังคม และมีบทบาทที่สำคัญต่อ การใช้ชีวิตคู่ เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสต์ ได้ค้นพบว่า สารฟีโรโมน ในตัวมนุษย์มีบทบาทสำคัญต่อ การใช้ชีวิตในสังคม และ การเลือกคู่ครอง เช่นเดียวกับสัตว์โลก
เกือบสามร้อยปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบอวัยวะเล็ก ๆ เรียกว่า VNO (Vomeronasal organ) ซึ่งเชื่อกันว่าอวัยะส่วนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ใด ๆ แต่ การวิจัย เมื่อไม่นานมานี้พบว่า VNO นั้นเชื่อมต่อกับระบบ การรับสัมผัส กลิ่น ซึ่งสัมพันธ์กับความจำที่เกี่ยวข้องกับ กลิ่น (OLFACTOR NERVES) ประสาทการรับรู้ นี้รับผิดชอบ การตรวจจับ ฟีโรโมน และ ส่งสัญญาณ ไปที่ สมอง LIMBIC REGION

ทำไมคุณจึงควรใช้ ฟีโรโมน

คุณอาจสับสนว่าทำไมควรใช้ ฟีโรโมน ในเมื่อร่างกายเราสามารถสร้าง สารฟีโรโมน เองได้ แน่นอน ร่างกาย เราสามารถผลิต ฟีโรโมน ได้ในบางส่วนของร่างกาย เช่น รักแร้ หัวนม และ บริเวณ อวัยวะสืบพันธุ์
ฟีโรโมน จะถูกชำระล้างออกไปเมื่อ คุณอาบน้ำ และเมื่อคุณ ใส่ เสื้อผ้า ฟีโรโมน ยิ่งถูกปกปิด ดังนั้น กลิ่นฟีโรโมน จะอ่อนมากจนคนภายนอกไม่สามารถได้กลิ่น เมื่อคุณใช้ ฟีโรโมนสเปรย์ ของเราไม่ใช่แค่ ทดแทน ฟีโรโมน ตาม ธรรมชาติ ในร่างกายแต่ยังเพิ่มแรง ดึงดูดทางเพศ เสริมเสน่ห์ น่าหลงใหล
ใช้ ฟีโรโมนสเปรย์ ของเราจะ กระตุ้นสมอง แห่ง การรับรู้กลิ่น ของผู้คนรายรอบคุณ เปลี่ยนเป็น แรงดึงดูด ให้อยากอยู่ใกล้ เสริม แรงดึงดูดทางเพศ


ที่มา : http://www.sanaeh.com/

เตือนภัย!เลือกเนื้อสัตว์ สารพัดกลยุทธ์ใส่สารพิษคงความสด


ใครจะเชื่อ คนไทยด้วยกัน ทำร้ายกันด้วยการใส่ของที่ไม่ควรกินให้คนกิน!!!

ประเด็นข่าวใหญ่เกี่ยวกับเรื่อง ไก่ เนื้อสัตว์ชนิดโปรดของใครต่อหลายคน ที่นิยมนำมาปรุงอาหารในหลากรูปแบบ ทั้งไก่ทอด ไก่ปิ้ง ไก่ย่าง ต้มข่าไก่ แถมยังแปรรูปเป็นไส้กรอก เป็นลูกชิ้น อาหารมื้อว่างของคนอยากอิ่มเบา ที่พ่อค้าหัวใสลักลอบนำซากไก่ตายที่รับซื้อจากฟาร์มหลายแห่งในราคาตัวละ 3 บาท มาชำแหละไปจำหน่าย แถมยังแช่ฟอร์มาลินหรือน้ำยาดองศพในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ผสมดินประสิวเพิ่มสีสันให้ไก่เนื้อแดงอีกด้วย



ไม่น่ายกย่องความช่างคิดของคนทำ แต่น่ารังเกียจมากกว่าที่ทำร้ายคนบริโภคด้วยกันเอง...

เภสัชกร วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยา ศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี และผู้รับผิดชอบโครงการปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างมาก ซึ่งจากการสำรวจในท้องตลาดพบว่า ฟอร์มาลิน มักถูกนำมาใช้ในการถนอมอาหารประเภทอาหารทะเล หรือแม้แต่ผ้าขี้ริ้ววัว ที่ปกติมีสีคล้ำ แต่เมื่อใส่ฟอร์มาลินผสมไป ก็เหมือนเป็นการฟอกขาวให้ผ้าขี้ริ้วมีสีขาวสวยน่ารับประทานขึ้น แต่สำหรับการผสมในเนื้อไก่นั้นเพิ่งเคยพบ ซึ่งอันตรายจากฟอร์มาลินหากเข้าตา จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองตาเพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงมาก หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทำลายระบบทางเดินอาหาร และหากได้รับเข้าสู่ร่างกายในจำนวนมาก จะส่งผลต่อระบบไต ระบบขับถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น และแม้จะใช้ความร้อนในการปรุงสุกอาหาร ก็ไม่สามารถล้างสารพิษจากฟอร์มาลินได้

นอกจาก “ฟอร์มาลิน” ต้นเหตุสำคัญของการดองไก่ก็ว่าได้ ผู้ประกอบการยังผสมดินประสิวเพื่อทำให้ไก่มีสีสด โดยดินประสิวหรือโพแทสเซียมไนเตรต ที่ทางภาคเหนือนั้นจะขาว นำมาเป็นส่วนผสมของดอกไม้เพลิง ใช้ทำดินปืน ทำดอกไม้เพลิง หรือใช้ใส่อาหารหมักดอง เช่น กปลาร้า ปลาเจ่า แหนม เรื่องนี้ เภสัชกร วรวิทย์ บอกว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อนุญาตให้ผสมในอาหารได้ในปริมาณที่กำหนด คือ ใช้ไนเตรทได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และไนไตรท์ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารบูดเน่า ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูไลนัม หรือเพื่อรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ดูใหม่สดนั่นเอง

ขณะที่ฟอร์มาลินนั้นห้ามผสมในอาหารอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ หากผสมดินประสิวในปริมาณที่ สธ.กำหนด ร่างกายสามารถขับถ่ายออกมาได้เอง แต่หากได้รับในปริมาณมากก็จะส่งผลต่อร่างกายเช่นกัน โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก แน่นหน้าอก มีผลต่อเม็ดเลือดแดงในร่างกาย ดัง นั้น การเลือกซื้อไก่รับประทาน ควรเลือกดูลักษณะความสดของไก่ เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม็น และเลือกซื้อในสถานที่สะอาด และปลอดภัย อย่างเช่น ในตลาดสดน่าซื้อ ตามที่ สธ.จัดทำประกาศรับรองไว้ก็ได้

เภสัชกร วรวิทย์ บอกอีกว่า สำหรับมาตรการป้องกันนั้น อยากให้เกิดขึ้นในระยะยาว หลายเรื่องหากรอให้ภาคราชการดูแลอย่างเดียวคงจะลำบาก ดังนั้นชุมชน-ผู้บริโภคเองต้องมีความเข้มแข็ง ช่วยกันเป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแล หากพบสิ่งผิดปกติก็ควรแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ อาทิ สายด่วน อย.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น เพราะหากชุมชนเข้มแข็งก็จะถือเป็นเกราะป้องกันในพื้นที่ได้ดีอีกชั้นหนึ่ง ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งกระบวนการการให้ความรู้ต่อประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคงานวิจัย ก็ต้องมีการศึกษา สำรวจ และจัดทำชุดความรู้ให้แก่ประชาชนสามารถนำไปใช้ได้เอง

“หลายเรื่องที่เป็นประเด็นขึ้นมา เป็นเรื่องที่ประชาชนเป็นฝ่ายเรียกร้องให้หันมาดูแล ซึ่งถือเป็นเรื่องดี ที่ชุมชนมีความเข้มแข็ง เพราะชุมชนจะดูแลครอบคลุมในพื้นที่ที่ขนาดพอเหมาะ ก็ถือเป็นอีกทางหนึ่งในหลักประกันระยะยาว ผู้บริโภคเองก็ต้องเข้าใจสิทธิคุ้มครองตนเอง หากคนในพื้นที่พบเห็นอะไรผิดปกติ ก็ควรแจ้งมาที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เป็นการผลักภาระแก่ผู้บริโภค แต่นับเป็นมาตรการระยะยาวได้ ยกตัวอย่างผมดูงานวิจัย ที่ผ่านมาก็พยายามทำงานวิจัยชุดความรู้ อย่างกรณีดินประสิว ที่ผสมในปลาส้ม จากที่กำหนดไว้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ผมลงสำรวจในพื้นที่ภาคอีสานก็พบเกือบ 20 เท่าก็มี ซึ่งก็ต้องช่วยเหลือให้ความรู้แก่ชาวบ้าน แนะนำให้ใช้ปลาส้ม 10 กิโลกรัม ผสมสารดินประสิวเพียง 10 กรัม ไม่ส่งผลต่อรสชาติที่เปลี่ยน หรือสีก็ยังสวยน่ารับประทาน สารก็ตกค้างอยู่ไม่ถึง 4 มิลลิกรัมด้วยซ้ำ เป็นต้น เภสัชกร วรวิทย์กล่าว

ปัจจุบันนี้โลกวันนี้เปลี่ยนแปลง ไปมาก ผู้ค้า ผู้ขายต่างแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อเม็ดเงิน หวังแต่ประโยชน์ส่วนตน ไร้การคำนึงถึงส่วนรวม กระทบถึงสุขภาพผู้บริโภค ดังนั้น คงเป็นอย่างที่เภสัชกรวรวิทย์แนะนำไว้ว่า เราทุกคนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา เพราะไม่ใช่หน้าที่ใครจะดูแล ถ้าเราไม่ดูแลตัวเอง

การระบาดของเชื้ออีโคไลในเยอรมนี

สถานการณ์ การระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล.ในเยอรมนี ล่าสุดเริ่มมีสัญญานว่าการระบาดอยู่ในภาวะคงที่ และมีแนวโน้มสถานการณ์จะไม่รุนแรงไปมากกว่านี้
เจ้า หน้าที่สาธารณสุขยุโรป เปิดเผยว่าขณะนี้เริ่มมีสัญญานว่า การแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลเริ่มคงที่ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ในช่วงไม่กี่วันมานี้ ผู้ป่วยที่รับเชื้ออีโคไลที่เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลทางเหนือของเยอรมนี ลดน้อยลง แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดยุติแล้ว
สำหรับ ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ยังอยู่ที่ 18 คน ติดเชื้อ 1,836 คน นับตั้งแต่ที่มีการตรวจพบเชื้อดังกล่าวครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ขณะที่ ศูนย์ด้านโรคระบาดในเยอรมนี ยังคงเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการรับประทานแตงกวา มะเขือเทศ และผักกาดหอม อย่างไรก็ตามศูนย์ห้องแล็ปตรวจสอบอีโคไลของอียูในกรุงโรม บอกว่า การประกาศเตือนดังกล่าวไม่สมเหตุผล เนื่องจากยังไม่มีการตรวจสอบทางวิทยาศาตร์ที่ชี้ชัดว่า ผักดังกล่าวเป็นแหล่งต้นตอการแพร่ระบาด
การแพร่ ระบาดของแบคทีเรียอีโคไล ทำให้เกิดความหวั่นวิตกไปทั่วโลกและเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของเกษตรกร ยุโรปเลยทีเดียว ทั้งนี้รัสเซีย ตลาดส่งออกผักรายใหญ่ของยุโรปได้ออกมาปฏิเสธคำร้องขอของยุโรปที่ให้ยกเลิกคำ สั่งห้ามนำเข้าผักสดยุโรป ขณะที่อังกฤษกำลังถกเครียดว่า ควรห้ามนำเข้าผักที่ผลิตในเยอรมนีหรือไม่ ส่วนสหรัฐฯเริ่มให้มีการมีการตรวจสอบการขนส่งสินค้าจากเยอรมนีและสเปนแล้ว
รายงานระบุว่า ผู้ปลูกแตงกวาในแคว้นแซ็กโซนี่ของเยอรมนีต้องทำลายแตงกวาและมะเขือเทศไปกว่า 200 ล้านผลเพียงวันเดียว

ทั้ง นี้รัฐบาลเยอรมนีก็เร่งค้นหาแหล่งต้นตอการแพร่ระบาดอย่างเต็มที่ ล่าสุดกำลังตรวจสอบร้านอาหารแห่งหนึ่งที่เมืองลูเบ็ค ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เผยว่า กำลังตรวจสอบว่าการแพร่ระบาดเริ่มขึ้นที่งานเทศกาลที่ฮัมบรูก์ เมื่อเดือนที่แล้วหรือไม่ ซึ่งในงานนั้นมีประชาชนและนักท่องเที่ยว 1.5 ล้านคน และร้านอาหารดังกล่าวในเมืองลูเบ็ค ก็เป็นร้านที่มาร่วมงานเทศกาลนี้ รายงานระบุว่า ลูกค้าหญิง 8 คนซึ่งเป็นนักท้องเที่ยวชาวเดนมาร์คล้มป่วยเมื่อรับประทานอาหารของร้าน ขณะที่เจ้าหน้าที่สรรพากรหญิงเยอรมนีที่รับประทานอาหารของร้านเสียชีวิตจาก การติดเชื้ออีโคไล อย่างไรก็ตามเจ้าของร้านงุนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ก็บอกว่า พนักงานของร้านและคนอื่นๆ ก็ไม่ได้ป่วยจากเชื้อดังกล่าว อย่างไรก็ตามได้มีการสั่งตราวจสอบบริษัทที่ขนส่งวัตถุดิบให้กับร้านอาหาร เพื่อหาแหล่งต้นตอการแพร่ระบาดที่แท้จริงด้วย

รายงาน ล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก เผยว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล.ในยุโรป มี 19 คน และกว่า 2,000 คนในอย่างน้อย 12 ประเทศล้มป่วย ในจำนวนผู้เสียชีวิต 18 คนอยู่ในเยอรมนี และ 1 คนในสวีเดน


ที่มา : www.krobkruakao.com

ทำไมต้องเลือกชนิดน้ำมันสำหรับทอด หรือ ผัด


คุณสมบัติของน้ำมันนั้นขึ้นอยู่กับความอิ่มตัว และความยาวของโมเลกุล

น้ำมัน ที่มีความอิ่มตัวสูง จะมีคุณสมบัติคงสภาพและทนต่อความร้อนได้ดี เมื่อโดนความร้อน หรือความร้อนสูงที่ใช้ในการทอด โมเลกุลก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่ยอมให้ ไฮโดรเจน หรือออกซิเจน เข้าไปจับตัวเพิ่ม (ขบวนการ OXIDATION ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ)

น้ำมัน ที่ไม่อิ่มตัว เนื่องจากแขนของโมเลกุลยังมีช่องว่างอยู่ ไฮโดรเจน หรือ ออกซิเจน จึงเข้าไปจับตัวได้ง่าย เกิดการ OXIDATION เกิดเป็นอนุมูลอิสระ และทำให้น้ำมันเสียได้เร็ว
สาเหตุที่ทำให้น้ำมันเสียมีอยู่ 5 วิธี
1. แสงสว่าง
2. ความร้อน
3. ออกซิเจน
4. ไฮโดรจิเนต (การเติมไฮโดรเจนเข้าไป เพื่อเปลี่ยนจากไขมันไม่อิ่มตัวเป็นอิ่มตัว ไขมันชนิดนี้อันตรายต่อสุขภาพมาก เรียกว่า TRANS FAT)
5. โฮโมจิไนซ์ การทำให้ไขมันแตกตัว

ใน ขบวนการผลิตน้ำมันผ่านกรรมวิธี โมเลกุลของน้ำมันได้ถูกรบกวนและเกิดเป็นอนุมูลอิสระไปแล้วในระดับหนึ่ง และถ้านำมาใช้ซ้ำอีกขบวนการเกิด TRANS FAT จะเกิดขึ้นได้สูงมาก

ปัจจุบัน คนไทยมีความรู้สึกที่ดีมากกับน้ำมันมะกอก (VIRGIN OLIVE OIL) ให้ค่านิยมว่าเป็นน้ำมันสุขภาพ และนำมาใช้ปรุงอาหารทุกชนิดในครัว

ถึง แม้ว่าน้ำมันมะกอกจะมีกรดโอเลอิกที่มีประโยชน์มากต่อร่างกาย แต่กลับมีปริมาณไขมันอิ่มตัวเพียง 14% ปริมาณไขมันไม่อิ่มตัว 1 ตำแหน่ง 77% และปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง 9% ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้น้ำมันมะกอกไม่มีความคงทนต่อความร้อน จึงควรใช้ประกอบอาหาร เช่น น้ำสลัด หรือ การผัดอาหารที่ใช้น้ำมันไม่มาก และไม่ใช้ความร้อนสูง

ดังนั้นถ้าต้องการทอดอาหารหรือปรุงอาหารโดย ใช้ความร้อนสูง อย่างสบายใจจึงควรใช้น้ำมันที่ผลิตโดยวิธีบีบเย็น (COLD PRESSED) และมีความอิ่มตัวสูงเท่านั้น เนื่องจากมีคุณสมบัติทนต่ออากาศ แสง และความร้อนได้ดี ส่วนน้ำมันพืช COLD PRESSED ชนิดอื่นๆ เมื่อเปิดใช้แล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันการเกิด OXIDATION จากอากาศและแสง