วิธีดูแลสุขภาพของคนชอบคุยโทรศัพท์นาน

เม้าได้ แต่ต้องใส่ใจสุขภาพช่องหู


       เวลา ที่คุยโทรศัพท์นาน ๆ แล้วเคยสังเกตหรือไม่ว่าเกิดอะไรผิดปกติบ้าง เพราะสมัยนี้การคุยโทรศัพท์นาน ๆ เป็นเรื่องธรรมดาสามัญสำหรับวัยรุ่นยุคนี้ไปเสียแล้ว โดยที่ไม่เคยคำนึงว่าการบริโภคการสื่อสารมากเกินไป นอกจากจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมอันเคยชิน และบางทียังส่งผลต่อสุขลักษณะอนามัยด้วย โดยส่วนมากจะมีอาการร้อนหู หรือมีเลือดผสมหนองไหลออกมาจากหูเลยทีเดียว...

       สาเหตุ ของอาการนั้น มาจากการคุยโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะความร้อนจากโทรศัพท์จะเข้าไปอยู่ในหู ทำให้เกิดอาการคัน ซึ่งเมื่อเกิดอาการแล้ว ตัวเรายังคงแคะ หรือเกาก็จะทำให้ผิวหนังเป็นแผล ดังนั้นเชื้อโรคต่าง ๆ จึงสามารถเข้าสู่แผลได้ง่ายขึ้น ทำให้ช่องหูเป็นสิวหรืออักแสบได้ นอกจากนี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์ ยังเป็นตัวการทำลายเส้นประสาทในรูหู และเซลล์สมองอีกด้วย อาจทำให้เกิดเนื้องอกขึ้นมาได้ในที่สุด

      วิธี ป้องกัน ก็ง่ายมาก โดยหันมาใช้สมอลล์ทอล์ค หรือบูลทูธแทน เนื่องจากจะช่วยป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ จากนั้นให้นำสำลีจุ่มแอลกอฮอล์ เช็ดทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือวันละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค

     ทั้ง นี้ ยังมีเหตุจากหูฟังด้วย จากการใช้ฟังเพลงติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความดันของคลื่นเสียง ซึ่งจะทำลายเซลล์ประสาทหูและเซลล์ขนในหู แล้วถ้าได้ยินเสียงเหมือนแมงหวี่ร้อง หรือเสียงวิทยุจนผิดคลื่นตลอดเวลา ก็แสดงว่าเริ่มมีอาการประสาทรับเสียงเสื่อม

   
     นอก จากนี้หูฟังที่ใช้ยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรค ซึ่งจะทำให้เป็นโรคหนองในหู และการอักแสบในช่องหูได้อีกด้วย ทางที่ดีควรเปิดเพลงในเครื่องเล่น ด้วยระดับความดังแค่ครึ่งเดียว ไม่ควรเปิดดังจนเกินไป และควรเลือกสถานที่ รวมทั้งเวลาในการฟังเพลงให้เหมาะสม เพื่อให้หูได้หยุดพักบ้าง และเหนือสิ่งอื่นใด ควรหลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ ทั้งยังต้องหมั่นดูแลทำความสะอาดหูฟังอยู่เป็นประจำอีกด้วย

     อย่าง ไรก็ตาม เราควรที่จะใช้โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเพลงเอ็มพี 3 ฯลฯ ให้เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป และดูแลสุขลักษณะให้ดีเป็นพิเศษ เพื่อปิดกั้นช่องทางของโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และเพื่อสุขภาพที่ดีของเราตลอดไป


ที่มา: สสส.
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/15704

สมาร์ตโฟน กับสุขภาพ

ฉบับนี้ผู้เขียนขอเขียนถึงเรื่องที่กำลังฮิต นั่นคือเรื่อง สมาร์ตโฟน เนื่องจากแนวโน้มของการใช้งานโทรศัพท์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โทรศัพท์ที่เดิมมีการใช้งานเพียงแค่โทร.เข้า โทร.ออก มาเป็นรูปแบบของสมาร์ตโฟน ที่มีความทันสมัยมากขึ้น
ในความ เป็นจริงสมาร์ตโฟนก็คือ โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถมากกว่าโทรศัพท์มือถือธรรมดา ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาก็ได้ สามารถเชื่อมต่อ รับส่งข้อมูลได้ รองรับการใช้โปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเฉพาะงานต่างๆ โดยอาศัยระบบปฏิบัติการคล้ายๆ กับวินโดว์ที่เราคุ้นเคยกัน 

ปัจจุบัน นี้ ปริมาณการขายสมาร์ตโฟนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีหลากหลายยี่ห้อและระบบปฏิบัติการ ดังเห็นได้จากยอดขาย iPhone 4 ของบริษัทแอปเปิล ซึ่งสามารถขายได้ถึง ๑.๗ ล้านเครื่องหลังจากเปิดขายได้เพียงแค่ ๓ วัน ขณะที่สมาร์ตโฟนของบริษัทอื่นก็มียอดขายมากเช่นกัน  ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ พบว่ายอดขายสมาร์ตโฟนมีมากกว่า ๑๗๐ ล้านเครื่อง ข้อมูลนี้เป็นตัวยืนยันว่ามีการใช้สมาร์ตโฟนกันมากจริงๆ
 

สมาร์ตโฟนกับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น
การ ใช้งานสมาร์ตโฟนมีความจำเพาะแตกต่างจากการใช้โทรศัพท์ธรรมดา เนื่องจากต้องใช้นิ้วกดตัวอักษรมากขึ้น เช่น การตอบอีเมล์ การส่ง SMS และการแชต

การใช้นิ้วมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ กับออกแบบการใส่ตัวอักษรของแต่ละเครื่อง เช่น iPhone ใช้การใส่ตัวอักษรด้วยการใช้นิ้วชี้จิ้ม ต้องใช้มือข้างหนึ่งถือตัวเครื่องไว้ และใช้นิ้วชี้ของอีกข้างกดที่แป้นอักษร การกรอกใส่ตัวอักษรแบบนี้จะทำได้ช้ากว่าเครื่องอื่นที่ใช้รูปแบบการกดแป้น พิมพ์ตัวอักษร โดยใช้นิ้วโป้งของทั้งสองมือเป็นนิ้วคอยป้อนตัวอักษร ส่วนนิ้วอื่นใช้ถือ ประคองเครื่อง ดังเช่นเครื่อง BlackBerry

เครื่อง สมาร์ตโฟนปกติจะมีขนาดเล็ก หากต้องกดตัวอักษรด้วยนิ้วโป้ง จะต้องงอและเกร็งนิ้วโป้งทั้ง ๒ ข้าง การกดลักษณะนี้บ่อยๆ อาจส่งผลทำให้เป็นโรคกลุ่มอาการอักเสบของเอ็นข้อมือโคนนิ้วโป้ง (De Quervain syndrome) และการอักเสบของเอ็นที่นิ้วมือจนทำให้เกิดอาการนิ้วโป้งล็อก (Trigger thumb) กลุ่มอาการทั้ง ๒ ชนิดนี้พบได้บ่อย ถึงขนาดมีการให้ชื่อนิ้วโป้งล็อกว่าเป็น Blackberry Thumb ซึ่ง หากทำการเสิร์ชในกูเกิลจะพบเว็บไซต์ที่กล่าวถึงคำนี้มากกว่า ๒๘๐,๐๐๐ เว็บ ทั้งนี้ผู้เขียนได้เคยเขียนถึงกลุ่มอาการทั้ง ๒ ลงในคอลัมน์นี้มาแล้ว โดยได้เล่าถึงลักษณะของอาการ ปัจจัยการเกิด และการดูแลรักษาเอาไว้ด้วย

นอกจากกลุ่มอาการทั้ง ๒ แล้ว การถือสมาร์ตโฟนนานๆ ขณะใช้งาน ยังอาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดบ่าและคอ เนื่องจากกล้ามเนื้อบ่าจะทำงานในลักษณะเกร็งคงค้าง ทำให้มีการสะสมของเสียในกล้ามเนื้อจนกระทั่งกล้ามเนื้อเกร็งตัวมากขึ้น

ขณะ เดียวกันตัวเครื่องสมาร์ตโฟนมีขนาดเล็ก ตัวอักษรก็มีขนาดเล็กด้วย ทำให้มองหน้าจอลำบาก หลายคนจึงต้องก้มคอเพื่อให้มองดูตัวอักษรหรือหน้าจอได้ถนัดขึ้น ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อคอและสายตาต้องทำงานหนัก ทำให้ปวดคอและตาได้

              

ความเครียดกับการใช้สมาร์ตโฟน
สมาร์ต โฟนอาจเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความสะดวกสบาย ใช้งานได้รวดเร็ว รับข่าวสารได้ทันใจ หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่ลดภาระการทำงานของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องติดต่อกับคนเป็นจำนวนมาก การเปิดออนไลน์ไว้ตลอดเวลาสามารถทำให้เราติดต่อกับคนอื่นที่ใช้เครื่อง ลักษณะเดียวกันได้ทุกเวลา และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยรวมด้วย

อย่าง ไรก็ตาม ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นดาบ ๒ คมได้ เนื่องจากการที่มีข้อมูลส่งมาบ่อยๆ อาจส่งผลต่อสมาธิในการทำงาน และทุกครั้งที่มีข้อมูลเข้ามา ย่อมสงสัยว่าข้อมูลนั้นคืออะไร เป็นเรื่องสำคัญหรือไม่ ทำให้ต้องเปิดดูและตอบสนองกับข้อมูลนั้น ถ้าไม่บ่อยครั้งนักก็คงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าบ่อยมากขึ้น อาจเป็นการรบกวนสมาธิการทำงาน จนก่อให้เกิดความเครียดและการตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อบ่า ไหล่ และคอ


                               

นอก จากกล้ามเนื้อแล้วสมาร์ตโฟนอาจส่งผลต่อการหายใจ ทำให้หายใจติดขัด เพราะเวลาเครียด คนเรามักหายใจด้วยการใช้กล้ามเนื้ออกส่วนบนและคอ มากกว่าการใช้กล้ามเนื้อกะบังลม ผลจากการหายใจลักษณะนี้บ่อยๆ อาจส่งผลต่ออาการเหนื่อยง่ายและกล้ามเนื้ออักเสบได้

ภาวะความเครียดกับสมาร์ตโฟนนี้ สามารถสังเกตได้ชัดว่าเราเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่เครียด
กรณีที่ ๑ ลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน มักจะกังวลว่าอาจมีคนติดต่อมา บางครั้งกังวลขนาดต้องกลับบ้านเพื่อไปเอาโทรศัพท์มา

กรณีที่ ๒ ไปเที่ยวไกลๆ นอกเขตเมืองและไม่มีสัญญาณของโทรศัพท์เลย นั่นคือจะโทร.ออกหรือรับสายเข้าไม่ได้ กลับไม่รู้สึกถึงความกังวลเท่าไหร่ และอาจจะลืมเรื่องโทรศัพท์ไปเลย ถ้าผู้อ่านมีลักษณะดังกรณีที่ ๑ ถือว่าค่อนข้างเครียดกับการใช้โทรศัพท์

ใช้สมาร์ตโฟนอย่างปลอดภัย
คง เป็นเรื่องยากถ้าจะหลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ตโฟน เพราะสังคมมีการใช้กันมากขึ้น ดังนั้น ควรรู้จักใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและห่างไกลจากการบาดเจ็บมากที่สุด ผู้เขียนขอแนะนำการใช้งานสมาร์ตโฟนอย่างปลอดภัย ดังนี้

๑. ใช้งานพิมพ์ด้วยนิ้วมือเท่าที่จำเป็น หากจำเป็นต้องพิมพ์มากให้พิมพ์โดยใช้แป้นพิมพ์ผ่านทางคอมพิวเตอร์
๒. ใช้การพูดผ่านทางโทรศัพท์ หรือข้อความเสียง แทนการพิมพ์
๓. หลีกเลี่ยงการใช้งานต่อเนื่องนานๆ อาจทำการพักบ้างเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ
๔. ให้ยกสมาร์ตโฟนให้สูงขึ้นเพื่อลดการก้มคอและศีรษะ โดยอาจใช้หมอนหรือกระเป๋าคอยรองแขนเพื่อลดการเกร็งตัวของบ่า
๕. หากต้องการใช้สมาธิในการทำงาน ควรปิดการสื่อสารชั่วคราว หรืออาจให้เหลือแค่การรับสายโทรศัพท์ เพื่อลดการดึงความสนใจเมื่อมีข้อความเข้ามา
๖. ขณะพัก ให้ทำการยืดเหยียดนิ้วและแขนให้สุด สลับกับการกำมือแน่นๆ ช้าๆ สัก ๑๐ ครั้ง หรืออาจทำการนวดคลายกล้ามเนื้อและเอ็นด้วยตนเองบ้าง


ที่มา : เว็บหมอชาวบ้าน
http://www.doctor.or.th/node/10949