วิธีการใช้ยา ระวังนะ!

เรื่องน่ารู้ของยาบางประเภท

ยาเหน็บ ใช้อย่างไร

           - กรณียาเหน็บทางทวารหนัก ทำให้ยาแข็งก่อนด้วยการนำยาแช่ในตู้เย็นหรือกระติกน้ำแข็ง แล้วอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย เวลาใช้ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง เหน็บในท่านอนตะแคง ใช้นิ้วจับยาสอดโดยเอาปลายมนเข้าให้ลึกที่สุด และควรนอนนิ่งๆ สักพัก กรณียาเหน็บช่องคลอด ต้องจุ่มเม็ดยาในน้ำสะอาดพอชุ่ม เพื่อให้ลื่นสอดช่องคลอดได้ง่ายในท่านอนo นอกจากยาที่กล่าวมาแล้ว ยาภายนอกยังมีอะไรบ้าง

มียาหยอดตา ยาป้ายตา หยอดหู การใช้ยา ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนจะหยอดหรือป้ายทุกครั้ง

          - โดยเฉพาะยาตา ต้องล้างมือให้สะอาดมากๆ หยอดยาในท่านอนหรือนั่งแหงนหน้าขึ้น  มือหนึ่งดึง หนังขอบตาล่างให้เป็นกระพุ้งอีกมือหนึ่งจับขวดยา หยอดยาลงไปในกระพุ้งขอบตาล่างตามจำนวนที่ระบุ กะพริบตา 2-3 ครั้งเพื่อให้ยาเข้าตาได้ทั่วถึง พักหลับตาสักครู่ถ้ามียาหยอดตา 2 ชนิด ให้หยอดตาห่างกัน 5-10 นาที ถ้ามียาขี้ผึ้งป้ายตาด้วย ให้ป้ายหลังหยอดตาไปแล้ว 10 นาที ถ้าเป็นยาพวกขี้ผึ้งป้ายตาให้บีบยาประมาณครึ่งเซนติเมตร ลงในกระพุ้งขอบตาล่างหลับตา คลึงหนังตาเบาๆ ให้ยากระจายทั่วตา ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะถูกตา เสร็จแล้วปิดฝาให้แน่น  เมื่อ เปิดใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 เดือน และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น

          - ส่วนยาหยอดหูก่อนหยอดให้ทำความสะอาดหูโดยใช้สำลีเช็ดภายในหู อย่าให้ลึกเพราะจะไปโดนหูส่วนใน เอียงศีรษะแล้วหยอดยา4-5 หยด  หรือตามจำนวนที่ระบุ เอียงทิ้งไว้ครู่หนึ่งประมาณ 10 นาทีแล้วจึงตั้งศีรษะตรง เช็ดยาส่วนที่อาจจะไหลออกมาให้สะอาด


วิธีใช้ยาอมใต้ ลิ้น

          ยาประเภทนี้ระบุมาให้อมใต้ลิ้น ให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้พิงหลัง นำยาอมใต้ลิ้น 1 เม็ดวางไว้ใต้ลิ้น ปิดปากและอมยาไว้ ปล่อยให้ยาละลายใต้ลิ้น อาการเจ็บหน้าอกจะหายภายใน 1-2 นาที ถ้าหลังจากอมยาไปแล้ว 5 นาทีอาการไม่ดีขึ้นให้อมยาเม็ดที่ 2 รอดูอาการสัก 5 นาทีถ้ายังเจ็บหน้าอกอยู่ให้อมยาเม็ดที่ 3 แล้วรีบไปโรงพยาบาล สังเกตว่าเวลาอมยานี้จะรู้สึกซ่า ถ้าไม่ซ่าแสดงว่ายาเสื่อมสภาพ หมดฤทธิ์ทางการรักษา การเก็บยาประเภทนี้  ต้องเก็บใน ขวดสีชา อย่าให้ถูกแสง ปิดฝาให้แน่นและเก็บไว้ในที่เย็น เพราะยานี้ใช้แก้อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด จึงควรระวังเป็นพิเศษ


หากลืมกินยาบาง มื้อ จะไปเพิ่มจำนวนยาในมื้อต่อไปได้หรือไม่หรือหลับไปก่อนกินยา จะทำอย่างไร

          ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า หรือกินซ้ำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ส่วนการหลับไปก่อนกินยาสามารถเลื่อนเวลาไปนิดหน่อย แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ญาติต้องพยายามให้ผู้ป่วยตื่นและให้กินยาตรงตามเวลา ไม่เช่นนั้นโรคจะไม่หายหรือหายช้า นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์ ควรกินยาอย่างสม่ำเสมอ อย่ากินบ้างไม่กินบ้าง เพราะจะทำให้ระดับยาในเลือดสูงๆ ต่ำๆ ผลการรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจส่งผลให้โรคกำเริบและมีความรุนแรงได้


เด็กที่กินยายาก ถ้าพ่อแม่จะผสมยาในนมได้หรือไม่

          ยาที่ผสมกับนมได้มีเพียงบางชนิดเท่านั้น ยาที่ผสมนมไม่ได้เช่น ยาประเภทบำรุงโลหิต ยาเตตราซัย คลิน ถ้าผสมนมจะไม่ ได้ผลและยังมีข้อเสีย หากเด็กดื่มนมไม่หมดก็จะได้รับยาไม่ครบตามขนาดที่ต้องการ ถ้าจะเอายาผสมนมต้องให้เด็กดื่มนมให้หมด แต่ทางที่ดีแล้วอย่าผสมดีกว่า  เปลี่ยนเป็นผสมน้ำเชื่อม เด็กจะกินยาง่ายขึ้น


รู้ได้อย่างไรว่า ยาเสีย

            ยาที่เปลี่ยนสีหรือรูปร่าง เป็นยาเสีย ไม่ควรกินเพราะเสื่อมคุณภาพหรือมีสารแปลกปลอมเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นพิษได้  ส่วนยาที่ตกตะกอนตัวยาแข็งไม่กระจาย ก็ไม่ควรกิน เป็นยาเสื่อมสภาพเช่นกัน แคปซูลที่เปลี่ยนสี หรือแคปซูลบวม พองออก ยาเม็ดแตกร่วน สีซีด เม็ดเคลือบแตก มีลายเกิดขึ้น ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสังเกตอายุของยาได้จากฉลากยาด้วย ถ้าไม่บอกวันหมดอายุ ให้ดูวันผลิต ถ้าเกิน 3 ปีสำหรับยาปฏิชีวนะ และ 5 ปีสำหรับยาทั่วไป ก็ไม่ควรใช้แล้ว


วิธีเก็บยาที่ถูก ต้อง

          ยาแต่ละชนิดมีวิธีการเก็บรักษาต่างกัน  หลัก ใหญ่ของการเก็บยา คือไม่ให้ถูกแสง ความชื้น ความร้อน จะเก็บยาในขวดก็ได้ ปิดฝาให้แน่น ถ้าเป็นยาที่ไวต่อแสงให้เก็บในขวดสีชา เก็บยาใช้ภายนอกแยกจากยากิน ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตาที่เปิดใช้แล้ว ยาปฏิชีวนะที่ผสมน้ำแล้ว ยาเหน็บทวารหนัก ยาฉีดพวกวัคซีน ควรเก็บในตู้เย็นในชั้นธรรมดา ห้ามเก็บในช่องทำน้ำแข็ง เพราะจะทำให้ยาเป็นน้ำแข็งเสื่อมคุณภาพ และไม่เก็บยาที่ข้างประตูตู้เย็น หรือช่องเก็บผัก เพราะความเย็นไม่เพียงพอ และควรเก็บยาให้พ้นจากมือเด็ก อยู่ในตู้ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันเด็กเข้าใจผิดว่าเป็นลูกกวาด หรือน้ำเขียว น้ำแดงแล้วจะหยิบไปกิน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น